วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมใหม่ด้านการแพทย์


คนที่กลัวเข็มฉีดยาหรือผู้ ป่วยที่ต้องได้รับการฉีดยาบ่อยๆ หมดห่วงเรื่องความเจ็บปวดจากการฉีดยาได้เลย เมื่อเอกชนคิดค้น "เข็มฉีดยาจิ๋ว" ฉีดไม่เจ็บ เตรียมผลิตออกสู่ตลาดกลางปีหน้า พร้อมคว้ารางวัลชนะเลิศการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม "DIC2010"

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ประกาศผลการประกวด "รางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรมครั้งที่ 3 ประจำปี 2553" (Design Innovation Contest, DIC2010) ซึ่งร่วมกับบริษัท ไอดีไซน์ พับลิชชิ่ง จำกัด นิตยสารวอลเปเปอร์ และ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านการออกแบบและการต่อยอดสู่การพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยในปีนี้ผลงาน "เข็มขนาดไมโครเมตรสำหรับนำส่งยาทางผิวหนัง" ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติปั่นจากเครื่องปั่นด้ายที่ให้คุณลักษณะเส้นด้าย คล้ายปั่นด้วยมือคว้ารางวัลชนะเลิศด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

"ทำไมปากของยุงเล็กนิดเดียวยังกัดและดูดเลือดเราโดยที่เราไม่รู้สึก เจ็บได้ และบางทียังปล่อยเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเราได้ด้วย ดังนั้นถ้าเราสามารถพัฒนาเข็มฉีดยาเพื่อนำยาหรือวัคซีนเข้าสู่ร่างกายคล้าย กับที่ยุงกัดเรา ก็น่าจะทำให้การฉีดยาง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เราจึงได้ออกแบบและพัฒนาเข็มฉีดยาที่มีขนาดเล็กระดับไมโครเมตรเรียง ตัวกันหลายๆเข็มและบรรจุตัวยาไว้ภายใน เมื่อแตะที่ผิวหนังและกดเบาๆ ก็สามารถนำส่งยาทะลุผ่านชั้นผิวหนังกำพร้าเข้าไปได้โดยไม่เจาะเข้าเส้นเลือด โดยตรง จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดและไม่มีเลือดออก" นายจักรี พิมพะนิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาราแฟคทอรี่ จำกัด เผยถึงนวัตกรรมเข็มฉีดยาจิ๋วที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้นร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายจักรีกล่าวต่อว่าเข็มฉีดยาจิ๋วนี้เหมาะสำหรับใช้กับยาและวัคซีน ที่สามารถกระจายตัวได้ใต้ชั้นผิวหนัง เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ยาคุมกำเนิด ยาชาเฉพาะที่ และอินซูลิน เป็นต้น และสามารถใช้ได้กับทุกคน โดยเฉพาะเด็ก คนชรา คนที่กลัวเข็มฉีดยา และผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ โดยสามารถฉีดยาได้ด้วยตัวเองโดยไม่ยุ่งยาก ซึ่งทางบริษัทมีกำหนดผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ให้แก่บริษัทผู้ผลิตยาและ วัคซีนในราวกลางปีหน้า



โดยมีการประกาศผลรางวัลไปเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา และจะมีพิธีมอบรางวัล ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงพาวเวอร์ ในวันที่ 5 ต.ค.53 ซึ่งตรงกับวันนวัตกรรมแห่งชาติพอดี

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000132943

นวัตกรรมขาเทียม


นัก ธุรกิจผู้พัฒนาข้อเข่าและขาเทียมเพื่อผู้พิการ คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านสังคมปี 53 ไปครอง เตรียมผลิตแจกผู้พิการให้ทดลองใช้งานจริง 100 ข้าง เพื่อเก็บข้อมูลขั้นสุดท้ายก่อนผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ด้านเอสซีจีเปเปอร์สร้างสรรค์กระดาษเพื่อพิมพ์หนังสือเรียนรับรางวัลเดียว กันในด้านเศรษฐกิจ เผยกระดาษแบบใหม่ช่วยถนอมสายตา และมีน้ำหนักเบากว่าเดิม 20%

นายพีท ริมชลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฮลเซี่ยน เมทอล จำกัด ผู้พัฒนา "แฮลเซี่ยน" ข้อเข่าและขาเทียมแบบสี่จุดหมุน (Halcyon 4 Joint Artificial Leg) ได้รับรางวัลชนะเลิศ "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคม ประจำปี 2553" ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นนวัตกรรมการออกแบบและผลิตข้อเข่าและขาเทียมให้มีจุด หมุน 4 ตำแหน่ง เพื่อให้เหมือนกับข้อเข่าจริงของมนุษย์ เพื่อทดแทนข้อเข่าและขาเทียมแบบเดียวกันจากการนำเข้าที่มีราคาสูงมาก

"ทุกวันนี้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าข้อเข่าเทียม ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศทั้งหมด เราจึงพัฒนาข้อเข่าและขาเทียมแบบสี่จุดหมุนขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้พิการให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงได้ทุกคน และเหมาะสำหรับการใช้งานในทุกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งใช้เวลาวิจัยและพัฒนามานานกว่า 2 ปี โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นที่ปรึกษา" นายพีท กล่าว

ทั้งนี้ ข้อเข่าเทียมที่เขาพัฒนาขึ้นนั้นมีทำจากสแตนเลสและหุ้มภายนอกด้วยพาสติก มีความแข็งแรงทนทาน มีระบบสปริงและระบบล็อคอัตโนมัติเพื่อช่วยให้การเดินเหมือนคนปกติมากที่สุด โดยสามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 80 กิโลกรัม

นายพีทกล่าวต่อว่า ขณะนี้ข้อเข่าและขาเทียมแบบสี่จุดหมุนผ่านการทดสอบทางวิศวกรรมตามมาตรฐาน สากล ISO 10328 และทดสอบการใช้งานเบื้องต้นโดยผู้พิการภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เรียบร้อยแล้ว

ขั้นต่อไปจะผลิตข้อเข่าและขาเทียมจำนวน 100 ชุด ให้กับศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูทางการแพทย์สำหรับนำไปทดสอบการใช้งานจริง ในชีวิตประจำวันของผู้พิการจำนวน 100 ราย ในพื้นที่ 7 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงแล้วนำมีพัฒนาหรือปรับปรุงในขั้นสุดท้าย ก่อนผลิตในเชิงพาณิชย์เร็วๆนี้ และจะพัฒนาต่อไปให้ขาเทียมมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งสามารถนั่งขัดสมาธิได้เหมือนคนปกติทั่วไป

"บริษัทประสบความสำเร็จในธุรกิจเครื่องตัดชิ้นส่วนโลหะแล้วจึงอยากทำ อะไรที่เป็นการคืนกำไรให้สังคมบ้าง ซึ่งก็ได้เลือกพัฒนาข้อเข่าและขาเทียมขึ้นเนื่องจากมีความต้องการสูง เฉพาะที่ศูนย์สิรินธรฯ มีความต้องการขาเทียมประมาณ 3,000 ข้าง และยังมีมูลนิธิขาเทียมที่มีความต้องการอีกจำนวนมาก ซึ่งการได้รับรางวัลนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ทีมงานพัฒนาขาเทียมเพื่อผู้พิการ คนไทยต่อไป" นายพีทกล่าวต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชน




http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000140013

นวัตกรรมใหม่ แว่นนาโน




นวัตกรรมใหม่ แว่นนาโนคริสตอล ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2010 เวลา 08:56 น.

นักวิทยาศาสตร์ไทย ผลิตแว่นนาโนคริสตอล แว่นคุณสมบัติพิเศษ ที่จะช่วยให้นักนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานได้ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะทำให้มองเห็นสารคัดหลั่ง อาทิ คราบเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย อสุจิ ที่คนร้ายทิ้งร่องรอยไว้ ณ จุดเกิดเหตุได้ด้วยแว่นเพียงอันเดียว และได้ทำการมอบแว่นนาโนคริสตอลต้นแบบให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ ยังจะมีการทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำนวัตกรรมนาโนคริสตอล ไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ การแพทย์และการเกษตร ต่อไป

นวัตกรรมนาโนคริสตอล เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักวิจัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

ดร. ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้ สวทช. กล่าวว่า“แว่นนาโนคริสตอล เป็นบาย-โปรดักส์สำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิจัยฟิล์มบางวัสดุนาโนเพื่อ นำไปใช้ในงานนาโนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์โซลาร์เซลส์ ตัวตรวจวัดแสง (Photo Detector)และตัวเปล่งแสง (LED-Light Emitting Diode) เป็นต้น ทั้งนี้ได้ทำการยื่นขอจดสิทธิบัตรไปแล้วทั้งในประเทศไทยและในสหรัฐอเมริกา และยังทำการวิจัยพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดผลในเชิงพาณิชย์สู่การผลิตในระดับ อุตสาหกรรม”

ดร. ธีระชัย กล่าวว่า เราทำโครงการวิจัยระยะยาว เพื่อสร้างพื้นฐานทางนาโนเทคโนโลยีให้กับประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็มองหาหนทางในการนำเทคโนโลยีที่ค้นพบ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และเห็นผลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

รศ.ดร.จิติ หนูแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยนวัตกรรมนาโนคริสตอล กล่าวว่า นาโนคริสตอล เกิดจากการนำผลึกของอินเดียมออกซิไนไตรด์ (Indium Oxynitride) ซึ่งเป็นสารประกอบออกซิเจน ไนโตรเจนของอินเดียมที่มีขนาดเล็กระดับนาโน เคลือบลงบนเลนส์แก้วหรือพลาสติกโดยใช้วิธีไอระเหย ซึ่งจะส่งผลให้เลนส์นั้นเกิดคุณสมบัติพิเศษคือ ความสามารถในการตัดแสงในช่วงความยาวคลื่นของแสงที่แตกต่างกัน ดังนั้น แว่นนาโนคริสตอล จึงทำหน้าที่เป็นฟิลเตอร์ ซึ่งสามารถตัดแสงสีน้ำเงิน เขียว และแดง รวมทั้งรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต หรือรังสียูวีทั้ง UV-A, UV-B และ UV-C ได้ อีกทั้งยังผลิตได้ง่ายด้วยวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด

เมื่อนำเลนส์ที่เคลือบด้วยนาโนคริสตอลมาประยุกต์ทำแว่นนาโนเพื่อใช้ในการ ตรวจหาหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุด้วยวิธีทางด้านแสงยูวี จะช่วยให้เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์มองเห็นสารคัดหลั่ง อาทิ คราบเลือด คราบน้ำลาย คราบอสุจิ หรือลายนิ้วมือ หรือเส้นใย ได้มากกว่า 1 ประเภท ด้วยแว่นเพียงอันเดียว ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับเจ้าหน้าที่

พันตำรวจโท สมชาย เฉลิมสุขสันต์ หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะคดีข่มขืนหรือคดีฆาตกรรม เจ้าหน้าที่นิติ-วิทยาศาสตร์จะตรวจหาหลักฐานที่เป็นสารคัดหลั่ง หรืออื่นๆ โดยใช้แสงหลายความยาวคลื่นในย่านยูวี-วิซิเบิล ฉายลงในพื้นที่หรือวัตถุต้องสงสัยที่จะเกิดการเรืองแสงกับแสงยูวีในช่วงความ ยาวคลื่นที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ต้องใส่แว่นตาพิเศษ ซึ่งมี 3 สี คือ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง ซึ่งแว่นแต่ละสีทำหน้าที่ตัดแสงในย่านความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกัน ทำให้เห็นการเรืองแสงดังกล่าว ดังนั้นในการตรวจสอบแต่ละครั้งอาจต้องเสียเวลาไปกับการเปลี่ยนความยาวคลื่น ของแสงที่ฉายลงบนพื้นที่หรือวัตถุ และเปลี่ยนแว่นตาที่ทำหน้าที่ตัดแสงแต่ละสี เพื่อให้เห็นการเรืองแสงหรือเห็นสิ่งที่ต้องการตรวจหาเมื่อมองผ่านแว่นตา

พันตำรวจโท สมชาย กล่าวต่อว่า “แว่นนาโนคริสตอล เป็นนวัตกรรมใหม่ ถือได้ว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์อีกทางหนึ่ง โดยจะช่วยสนับสนุนภารกิจให้กับทีมนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสารคัดหลั่งที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นทั้งคณะผู้คิดค้นและวัตถุดิบที่นำมาผลิต ก็อยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้หน่วยงาน บริษัทต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้”

นอกเหนือจากการนำแว่นนาโนคริสตอล มาใช้ในงานตรวจสอบสารคัดหลั่งของเจ้าหน้าที่นิติ-วิทยาศาสตร์แล้ว แว่นนาโนคริสตอล ยังมีศักยภาพที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ใช้ทำแว่นสำหรับแพทย์ที่ฉายรังสียูวีเพื่อการรักษาหรือเพื่อเสริมความงาม แพทย์ที่ใช้เลเซอร์ในการผ่าตัด หรือแว่นสำหรับป้องกันแสงและรังสีในการเชื่อมโลหะ และการใช้แว่นป้องกันแสงยูวีในการคัดแยกกุ้งกุลาดำ เป็นต้น

หลังจากการส่งมอบแว่นนาโนคริสตอล เพื่อทดสอบการใช้งานทางนิติวิทยาศาสตร์แล้ว ทางทีมวิจัยจะได้ส่งมอบแว่นนาโนคริสตอล เพื่อทดสอบภาคสนามในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ คาดว่า การทดสอบภาคสนามจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2551


http://www.classifiedthai.com/content.php?article=8075

นวัตกรรมเรื่อง บทเรียนสำเร็จรูป


บทเรียนสำเร็จรูปเป็นสื่อสำหรับเรียนด้วยตนเอง อาจใช้สำหรับศึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม ซึ่งอาจจะพบว่ามีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามลักษณะของการนำไปใช้ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป แบบเรียนสำเร็จรูป บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมการสอน แบบเรียนด้วยตนเอง เป็นต้น ถึงแม้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่ลักษณะโดยทั่วไปของบทเรียนสำเร็จรูปมีความคล้ายคลึงกัน คือเป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้วิธีหนึ่ง

ความหมาย

บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง บทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียน รู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียน โดยเริ่มจากเนื้อหาสาระที่ง่าย ๆ ไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นไปตามลำดับ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

จุดมุ่งหมายของบทเรียนสำเร็จรูป

  • 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ โดยครูคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนมีปัญหา
  • 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามลำดับขั้น จากง่ายไปหายาก
  • 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง และทราบถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของตนเอง
  • 4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

หลักการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

  • 1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
  • 2. ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง และรู้คำตอบได้ทันที
  • 3. มีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความพยายามที่จะแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
  • 4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของ แต่ละคน

ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป

ลักษณะสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป คือ การออกแบบการบรรจุเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ออกเป็น กรอบ (Frame) ซึ่งเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ดังกล่าวนั้นจะนำมาจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ ย่อย ๆ แล้วบรรจุเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ ดังกล่าวลงไปในกรอบแต่ละกรอบให้มีความสัมพันธ์และเรียงลำดับเนื้อหาจากง่าย ไปยาก กรอบสาระการเรียนรู้ (Frame) ในแต่ละกรอบของบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย

  • 1. การอธิบายเนื้อหา
  • 2. แบบประเมินผลก่อนเรียน
  • 3. เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้
  • 4. คำถาม
  • 5. เฉลยคำตอบ
  • 6. แบบประเมินผลหลังเรียน
http://www.google.co.th/#hl=th&biw=1024&bih=419&q=%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&fp=db32cde2369fae92

นวัตกรรม เรื่อง e-Book



อีบุ๊ค(e-Book) คืออะไร
อีบุ๊ค (e-Book) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic book) คือ หนังสือที่ถูกเปิดอ่านได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ (Computer) สมาร์ทโทรศัพท์ (Smart Phone) หรือ พีดีเอ (PDA) การสร้างอีบุ๊คสามารถสร้างด้วยโปรแกรมที่หลากหลายและมีรูปแบบที่แตกต่างกัน
ในยุกแรกอีบุ๊คนิยมสร้างและเปิดอ่านด้วยโปรแกรม Acrobat ในการอ่านหรือเขียน ปัจจุบันอีบุ๊คถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีโปรแกรมสนับสนุนหลากหลาย เช่น Acrobat, Flip Publisher, Desktop Author, Diji Album, Microsoft Reader, Palm, HTML Help Workshop หรือ Plakat e-Book เป็นต้น แฟ้มอีบุ๊คแต่ละประเภทถูกเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะของตน เช่น แฟ้มสกุล .doc ต้องใช้โปรแกรม Microsoft Word แฟ้มสกุล .pdf ต้องใช้โปรแกรม Acrobat Reader แฟ้มสกุล .opf ต้องใช้ Flip Viewer แฟ้มสกุล .dnl ต้องใช้ DeskTop Author
การสร้างอีบุ๊กสามารถนำเข้าแฟ้ม (Import) จากภายนอกได้ เช่น เอกสาร: doc, rtf, txt, html ภาพ: gif, jpg, png, bmp, wmf, ico, pcx, tif, pcd, psd เสียง: mid, wav, mp3 วีดีโอ: avi, mpg ทำให้สามารถนำงานที่เคยสร้างไว้แล้ว นำเสนอผ่านอีบุ๊กได้โดยง่าย

http://www.thaiall.com/flip/indexo.html

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรม เรื่องชุดการสอน

ความหมายชุดการสอน
ชุดการสอน คือ การนำเอาระบบสื่อประสม (Multi-media) ที่ สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย มาช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชุด การสอนนิยมจัดไว้ในกล่อง หรือซองเป็นหมวด ๆ ภายในชุดการสอน ประกอบด้วยคู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา และประสบการณ์ อาทิ เช่น รูปภาพ สไลด์ เทป แผ่นคำบรรยาย ฯลฯ

ประเภทของชุดการสอน
ชุดการสอนแบ่งตามลักษณะการใช้ได้
3 ประเภท คือ
1. ชุดการสอนแบบบรรยาย หรือชุดการสอนสำหรับครู : เป็น ชุดการสอนสำหรับใช้สอนผู้เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ภายในกล่องจะประกอบด้วยสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปลี่ยนบทบาทของครูให้พูดน้อยลง มาเป็นผู้แนะนำ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น ชุดการสอนแบบบรรยายนี้ จะมีเนื้อหาโดยจะแบ่งหัวข้อที่จะบรรยาย และประกอบกิจกรรมตามลำดับขั้น ดังนั้น สื่อการสอนที่ใช้ควรเป็นสื่อที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือได้ยินกันอย่างทั่วถึง เช่น แผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพยนตร์ แผนภูมิ แผนภาพ โทรทัศน์ เอกสารประกอบการบรรยาย และกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายตามปัญหาและหัวข้อที่ครูกำหนดไว้ และชุดการสอนประเภทนี้ มักจะบรรจุในกล่องที่มีขนาดพอเหมาะกับสื่อการสอน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่สามารถบรรจุไว้ในกล่องได้ จะต้องกำหนดไว้ใน คู่มือครู ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งที่ ครูผู้สอน จะต้องเตียมไว้ล่วงหน้าก่อนทำการสอน

2. ชุดการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่ม หรือ ชุดการสอนที่ใช้กับศูนย์เรียน : เป็น ชุดการสอนแบบกิจกรรม ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยระบบการผลิตสื่อการสอนตามหน่วยและหัวเรื่องโดยเปิด โอกาสให้ผู้เรียน ได้ร่วมกันประกอบกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 5-7 คน ในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มนี้ ประกอบด้วยชุดย่อย ๆ ตามจำนวนศูนย์ในแต่ละหน่วย ในแต่ละศูนย์จะจัดสื่อการสอนไว้ในรูปของสื่อประสม อาจเป็นสื่อรายบุคคล หรือสื่อสำหรับกลุ่มผู้เรียนทั้งศูนย์ใช้ร่วมกัน ผู้เรียนที่เรียนได้ใช้ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มจะต้องการความช่วยเหลือจาก ครูในระยะเริ่มเรียนเท่านั้น หลังจากเคยชินต่อวิธีการเรียนแบบนี้แล้วผู้เรียนจะสามารถช่วยเหลือกันเองภาย ในกลุ่ม ระหว่างการประกอบกิจกรรม หากมีปัญหาสามารถถามครูได้ตลอดเวลา

3. ชุดการสอนรายบุคคล หรือชุดการเรียน : เป็นชุดการสอนที่มีการจัดระบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามลำดับขั้นที่ระบุไว้ โดย ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเอง ตามความสนใจของแต่ละคน และตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ชุดการสอนประเภทนี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นผู้ที่ให้ คำแนะนำ และช่วยเหลือทันที หรือผู้เรียนอาจนำชุดการสอนประเภทนี้ไปศึกษาเองที่บ้านได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และฝึกฝน ให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง


องค์ประกอบของชุดการสอน
ชุด การสอนที่สร้างขึ้นมีหลายลักษณะ ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้ เช่นชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ชุดการสอนแบบบรรยาย ซึ่งใช้เป็นกลุ่มใหญ่ และชุดการสอนรายบุคคล หรือชุดการเรียน ชุดการสอนเหล่านี้ จะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการใช้ ซึ่งอาจมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.
คู่มือและแบบปฏิบัติ สำหรับครูผู้ใช้ชุดการสอนและผู้เรียนที่ต้องเรียนจากชุดการสอน
2.
คำสั่งหรือการมอบหมายงานเพื่อกำหนดแนวทางของการเรียนให้นักเรียน
3.
เนื้อหาสาระ ซึ่งบรรจุอยู่ในรูปของสื่อประสม และกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล ซึ่งกำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4.
การประเมินผล เป็นการประเมินผลของ กระบวนการ และผลของการเรียนรู้ ในการประเมินผลกระบวนการ ได้แก่ แบบฝึกหัด รายงาน ส่วนผลการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบ ซึ่งจะบรรจุอยู่ในกล่อง โดยจัดเป็นหมวดหมู่สะดวกต่อการใช้

ขั้นตอนการผลิตชุดการสอน
ในการผลิตชุดการสอนนั้น สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1.
กำหนดหมวดหมู่ เนื้อหา และประสบการณ์ อาจกำหนดเป็น หมวดวิชา หรือ สหวิทยาการ
2.
กำหนดหน่วยการสอน โดยการแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น หน่วยการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนได้ ภายใน 1 สัปดาห์ หรือให้เสร็จสมบูรณ์ได้ภายในการสอน 1 ครั้ง อาจเป็น 1-2 ชั่วโมง
3.
กำหนดหัวเรื่อง ผู้สอนควรกำหนด หัวเรื่องต่าง ๆ ที่จะสอนว่า ในการสอนแต่ละครั้งจะจัดประสบการณ์ใดบ้างให้แก่ผู้เรียน
4.
กำหนดมโนมติ และหลักการ ใน การกำหนด มโนมติ และหลักการนี้ จะต้องสอดคล้องกับหน่วยการสอนและหัวเรื่อง โดยสรุปรวม แนวคิด สาระ และหลักเกณฑ์สำคัญไว้เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่จะสอนให้สอดคล้อง กัน
5.
กำหนดวัตถุประสงค์ ใน การผลิตชุดการสอนนั้นควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่องโดยเขียน เป็นวัตถุประสงค์ทั่วก่อน แล้วจึงเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6.
กำหนดกิจกรรมการเรียน ใน การกำหนดกิจกรรมการเรียน ควรจะพิจารณาให้สอด-คล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพราะกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมนั้น จะต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อันเป็นแนวทางในการ เลือก ผลิต และใช้สื่อการสอน กิจกรรมทุกอย่างที่ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น ตอบคำถาม ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่ง เล่นเกม ฯลฯ
7.
กำหนดแบบประเมินผล ควร จะต้องประเมินผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ โดยใช้แบบทดสอบ และใช้วิธีการพิจารณาแบบอิงเกณฑ์ เพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า หลังจากผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
8.
เลือกและผลิตสื่อการสอน ใน การผลิตชุดการสอนนี้ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการต่าง ๆ ที่ครูใช้ จัดว่าเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น เมื่อผลิตสื่อแต่ละหัวเรื่องแล้ว ควรจัดสื่อเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ และจัดไว้ในซองหรือกล่องที่เตรียมไว้ก่อนนำไปทดสอบหาประสิทธิภาพ
9.
ทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน เมื่อ สร้างชุดการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรนำชุดการสอนไปทดสอบหาประสิทธิภาพ โดยผู้สร้างควรกำหนดเกณฑ์ตามหลักการที่กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรม
10.
การใช้ชุดการสอน หลังจากที่สร้งชุดการสอนและนำไปหาค่าประสิทธิภาพ ปรับปรุง แก้ไข ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนก็สามารถนำไปสอนผู้เรียนได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น ชุดการสอนแบบบรรยาย ชุดการสอนแบบรายบุคคล และชุดการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่มและสามารถใช้ได้ทุกระดับ เช่น อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
10.1
ขั้นทดสอบก่อนเรียน ควรจะมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน ในเรื่องที่จะ เรียนก่อน
10.2
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ในขั้นนี้ผู้สอนควรนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเรียน อีกทั้งเป็นการแนะนำวิธีการเรียนโดยใช้ชุดการสอนในกรณีที่ผู้เรียนยังไม่เคย เรียนโดยวิธีนี้ จะได้ทราบขั้นตอนการเรียน การปฏิบัติตนในกระบวนการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างถูกขั้นตอนจะลดปัญหาในการเรียน ในกรณีที่ใช้ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ควรแบ่งกลุ่มผู้เรียนและอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนโดยใช้ชุดการสอน
10.3
ขั้นประกอบกิจกรรม ในการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่ง จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะชุดการสอนแบบรายบุคคล และแบบกิจกรรมกลุ่ม ภาษาที่ใช้ในการอธิบายควรเข้าใจง่ายและชัดเจนผู้สอนควร ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา
10.4
ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เมื่อ ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้สอนควรสรุปมโมมติต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ ถ้ายังไม่เข้าใจ ผู้สอนควรอธิบาย หรือให้ประกอบกิจกรรมอื่น ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน

http://gotoknow.org/blog/jane1191/154407

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรม การสอนคำกริยาวิเศษณ์ บอกความถี่ บ่อย

นวัตกรรม การสอนคันจิน่ารู้

นวัตกรรมการสอนคำลักษณะนามในภาษาญี่ปุ่น

นวัตกรรม การสอนการแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่น


ชุดการสอน

เป็นสื่อการสอนที่เป็นชุดของสื่อประสม (Multi-media) ที่จัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดไว้เป็นชุด ๆบรรจุในซอง กล่อง หรือกระเป๋า แล้วแต่ผู้สร้างจะทำขึ้น

ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วยจึงทำให้มั่นใจได้ว่าชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย


แนวคิดและหลักการของชุดการสอน


การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอนจากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเองเปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียนยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของ ชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้


ประเภทของชุดการเรียนการสอน


1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย

2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม

3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพ


องค์ประกอบของชุดการสอน


1. คู่มือครู บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ

2. เนื้อหาสาระและสื่อ

3. แบบประเมินผล


ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน


1. กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์

2. กำหนดหน่วยการสอน

3. กำหนดหัวเรื่อง

4. กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ

5. กำหนดวัตถุประสงค์

6. กำหนดกิจกรรมการเรียน

7. กำหนดแบบประเมินผล

8. เลือกและผลิตสื่อการสอน

9. หาประสิทธิภาพชุดการสอน

10.การใช้ชุดการสอน


ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู

1. คำนำ

2. ส่วนประกอบของชุดการสอน

3. คำชี้แจงสำหรับผู้สอน

4. สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม

5. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน

6. การจัดห้องเรียน

7. แผนการสอน

8. เนื้อหาสาระของชุดการสอน

9. แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม

10.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน


หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน


1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ

2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง

3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป

4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส

5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน

6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา


ประโยชน์ของชุดการสอน


1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล

2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู

3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน

4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู

5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน

6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย

7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น

8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ

9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น

นวัตกรรม eDLTV


eDLTV คืออะไร?
“eDLTV” คือ “โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” เป็นโครงการความร่วมมือของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการนำเนื้อหาของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาลงบนระบบ e-Learning เพื่อใช้เผยแพร่แก่โรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ โรงเรียนในชนบท (ทสรช.) ที่ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทห่างไกล ขาดแคลนครู ได้ใช้ประโยชน์ในการสอน สอนเสริม หรือให้นักเรียนได้ใช้ทบทวนบทเรียนภายในโรงเรียนแบบ Off-line และเผยแพร่แบบ On-line ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้แก่ครู นักเรียน และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือศึกษาเพิ่มเติม


นวัตกรรม e-learning


e-Learning คืออะไร :: คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology) คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

http://www.thaiedunet.com/ten_content/what_elearn.html

นวัตกรรม CAI



CAI
CAI ย่อมาจาก computer-assisted instruction หรือ computer-aided instruction คำนี้เป็นศัพท์ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า “ซีเอไอ” หรือ “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ซึ่งมักอ้างอิงถึงซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน CAI มีลักษณะเด่นสามประการคือ ประหยัด ได้ผล และฉลาด
มีคำหลายคำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (concept) ของ CAI เช่น Computer-Aided Instruction (CAI), Computer-Based Instruction (CBI), Computer-Aided Learning (CAL), Computer-Based Training (CBT), Computer-Based Education (CBE), Integrated Learning Systems (ILS) และคำอื่นๆ เช่น Intelligent Computer-Assisted Instruction (ICAI), Interactive Knowledge Retrieval systems (ITR) เป็นต้น


ประเภทของบทเรียน
เราจะเข้าใจ CAI ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงชนิดหรือประเภทต่างๆ ของมัน ซึ่งมีดังนี้:
ฝึกทบทวน (Drill and Practice) ถือว่าทักษะต่างๆที่ได้ถูกนำเสนอมา และการฝึกฝนปฏิบัติต่อไปให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ
สอนเนื้อหาใหม่ (Tutorial) กิจกรรมการสอนเนื้อหาใหม่นี้รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลและเพิ่มเติมเป็นงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการฝึกทบทวน (drill and practice) เกมส์ (games) และการจำลองสถานการณ์ (simulation)
แก้ปัญหา (Problem Solving) ซอฟแวร์การแก้ปัญหาสอนทักษะและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง
จำลองสถานการณ์ (Simulation) ซอฟแวร์จำลองสถานการณ์สามารถจัดเตรียมสภาพที่คล้ายคลึงกับความเป็นจริง ซึ่งการจำลองไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตจริง หรือไม่เสี่ยงอันตราย
เกมการศึกษา (Educational Game) ซอฟแวร์เกมส์สร้างการแข่งขันเพื่อให้ได้รับคะแนนสูงสุดและเอาชนะคู่แข่งหรือเอาชนะคอมพิวเตอร์ หรือทั้งสองอย่าง
ค้นพบ (Discovery) ซอฟแวร์การค้นพบจัดเตรียมฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เฉพาะเจาะจงไปยังแนวความคิดหนึ่งๆ หรือขอบเขตเนื้อหาหนึ่ง และท้าทายผู้เรียนให้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ วินิจฉัย และหาค่า โดยยึดการสำรวจข้อมูลของเขาเป็นหลัก
ตัวอย่างบทเรียน
ลองดูตัวอย่างบทเรียน CAI ประเภทสอนเนื้อหาใหม่ (Tutorial) เรื่อง แรงโน้มถ่วงและระบบสุริยะ จัดทำโดย สคูลไทยแลนด์ และดูวีดิทัศน์ประกอบความเข้าใจ


วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมใหม่ด้านโทรศัพท์มือถือ ไฮโซมากๆ




วิวัฒนาการด้านนาโนเทคโนโลยี ช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความยืดหยุ่น สามารถยืดหดและโค้งงอได้ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์รุ่นดังกล่าวชื่อว่า Morph ได้ถูกนำไปแสดงในนิทรรศการ New Design and Elastic Mind ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแขนงใหม่ (Museum of Modern Art: MoMA) ในนครนิวยอร์ค โดยนิทรรศการดังกล่าวจัดระหว่าง 24 กุมภาพันธ์ ถึง 12 พฤษภาคม 2008 แนวคิดในการประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือยืดหดที่มีความยืดหยุ่นได้นี้ เป็นของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ร่วมกับศูนย์วิจัยของ Nokia ซึ่งเริ่มต้นวิจัยมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2007 การคิดค้น Nokia Morph เป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ด้านนาโนเทคโนโลยี และศิลปะการออกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงในอนาคตMorph เป็นต้นแบบของโทรศัทพ์มือถือในอนาคตที่สามารถยืดหด และดัดไปมาเป็นรูปร่างต่างๆในแนวโค้งได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปร่างของมันได้หลากหลายเพื่อการใช้งานทั้งเป็นโทรศัพท์ แถบรัดข้อมือ นาฬิกาข้อมือ หรือแม้แต่หูฟัง(hand free) วัสดุที่นำมาผลิตใช้หลักการของนาโนเทคโนโลยี ซึ่งต้องเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่น โปร่งใสให้เห็นระบบอิเลกทรอนิกส์ด้านใน และทำความสะอาดบริเวณผิวได้ด้วยตัวเอง

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

明けまして おめでとう!!


みんなさん

 明けまして !! お元気ですか。タイでは今 涼しくなりましたね。みんなさんは 体をきをつけてください。お正月には みんなさんは どこに 旅行に 行きましたか。私は どこへも 行きませんでした。うちで ゆっくり 休んで、小説を読みました。そして、前の年を思って、前の年は 私たちを世話になって、いろいろなことをおしえまして ありがたい気持ちになりました。ありがとうね。来年もよろしくね。うさぎさん!!
 Happy New Year !!